เอส.บี. อีลีเวเตอร์

http://www.sblift.com
 
 
 

 
     หจก.เอส.บี.อีลีเวเตอร์ 

      

ประวัติความเป็นมาของลิฟท์

ความเป็นมาของลิฟต์  ลิฟต์พาหนะโดยสารสำหรับอาคารสูง ที่มีใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน มีประวัติก่อกำเนิดมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ หรือเมื่อ 253 ปี ก่อนคริสตกาล โดยผู้ริเริ่มใช้คนแรก คือArchimedes นักปราชญ์ชื่อดังชาวกรีก และใช่เรื่อยมาถึงสมัยอาณาจักรโรมัน ในสมัยอียิปต์โบราณได้ใช้ลิฟต์เป็นอุปกรณ์ในการก่อสร้างปิรามิด โดยใช้แรงคนหรือสัตว์และพลังน้ำในการขับเคลื่อน แม้ในสมัยจักรพรรดิ์นโปเลียน ก็มีลิฟต์ที่เรียกว่า “เก้าอี้เหาะ” แต่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจึงเสื่อมความนิยมลง

ช่วงที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมลิฟต์อย่างแท้จริงคือ ช่วงปฏิบัติอุตสาหกรรม ที่เริ่มนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้กับลิฟต์ในประเทศอังกฤษ แต่ก็ยังไม่ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการโดยสารจนกระทั่งปี 1852 จึงเริ่มพัฒนาลิฟต์ให้มีความปลอดภัยในการใช้โดยสารมากขึ้น ด้วยการคิดค้นอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย พร้อมกับการคิดค้นลิฟต์ที่ใช้เครื่องจักรและสลิงในการขับเคลื่อน จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมลิฟต์อย่างแท้จริง

ในปี 1861 ได้พัฒนารูปแบบลิฟต์จากที่เคยใช้สลิงเพียง 1 หรือ 2 เส้นมาเป็นสลิงหลายเส้นเพื่อให้มีความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารมากขึ้น และถือเป็นมาตรฐานในการผลิตลิฟต์นับแต่นั้นมา ต่อมาในปี 1887 ได้มีการผลิตลิฟต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าติดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในอเมริกา จากนั้นก็ได้มีการพัฒนารูปแบบและระบบเทคโนโลยี่ต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน

ในประเทศไทย เริ่มมีการนำลิฟต์มาติดตั้งครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยการนำเข้าลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรจากอิตาลีมาติดตั้ง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมและติดตั้งลิฟต์ที่ขับเคลื่อนโดยแรงคนที่พระที่นั่งวโร ภาสพิมาน พระราชวังบางปะอิน เมื่อมีไฟฟ้าใช้จึงได้เริ่มนำเข้าลิฟต์จากต่างประเทศเพื่อติดตั้งตามหน่วย งานราชการ พร้อมให้การดูแลบำรุงรักษาอันเป็นที่มาเริ่มแรกของการใช้ลิฟต์ในประเทศ ก่อนที่จะพัฒนามาโดยลำดับจวบจนปัจจุบัน

คนส่วนมากมักมองว่าอุตสาหกรรมลิฟต์ใหม่และลิฟต์บริการเป็นเรื่องเดียวกัน  แต่โดยลักษณะงานแล้ว  ธุรกิจทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกัน  ทั้งในเรื่องของเนื้อหางาน และกฎระเบียบต่างๆ (ในกรณีของประเทศที่มีกฎหมายบังคับเรื่องลิฟต์)




การพัฒนาของลิฟต์


เช่นเดียวกับเทคโนโลยีในการสร้างอาคารที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีลิฟต์ของเราก็เช่นเดียวกัน โอทิสมีประวัติอันยาวนานในการรับมือกับความท้าทายใหม่ด้วยนวัตกรรมที่พัฒนา อยู่เสมอ ในขณะที่ลิฟต์มีหลากหลายประเภทเพื่อตอบสนองต่อทุกความต้องการ หากแต่ทั้งหมดสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทหลัก ได้แก่ ลิฟต์ที่ไม่ต้องมีห้องเครื่อง (machine-roomless) ลิฟต์ชนิดไม่มีเกียร์ (gearless) และลิฟต์ชนิดเกียร์ (geared)
ลิฟต์ที่ไม่ต้องมีห้องเครื่อง
ระบบลิฟต์อันล้ำสมัยนี้ใช้พื้นฐานจากเทคโนโลยีที่นับได้ว่าเป็นการพลิกโฉม ครั้งแรกและครั้งยิ่งใหญ่ ในรอบเกือบ 100 ปีของเทคโนโลยีลิฟต์ ระบบได้รับการออกแบบสำหรับติดตั้งกับอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 2 จนถึง 30 ชั้น โดยใช้ลูกล้อที่มีขนาดเล็กกว่าล้อของลิฟต์ชนิดเกียร์และชนิดไม่มีเกียร์แบบ ดั้งเดิม ล้อที่เล็กลงนี้ผนวกกับตัวลิฟต์ซึ่งได้รับการออกแบบใหม่ ทำให้มอเตอร์สามารถถูกติดตั้งไว้ในช่องลิฟต์ได้โดยตรง และไม่จำเป็นต้องมีห้องเครื่องขนาดใหญ่บนหลังคาอีกต่อไป สิ่งที่แตกต่างเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่สายพานแบนเคลือบเส้นใยเหล็กด้วยสารสังเคราะห์พิเศษ ซึ่งคิดค้นเพื่อใช้กับ ระบบลิฟต์ Gen2™ สายพานแบบดังกล่าวมีความแข็งแรง ทนทาน และมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าสลิงเหล็กแบบเก่าซึ่งถูกนำมาใช้เป็น มาตรฐานอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2343 จากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีครั้งนี้มีผลทำให้เครื่องขับเคลื่อนของระบบลิฟต์  มีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 0.1 นิ้ว (3 มม.) ขณะที่ยังมีความแข็งแรงเทียบเท่ากับสายพานแบบเดิม ทั้งยังมีความทนทาน ยืดหยุ่น และใช้พื้นที่น้อยกว่า
ลิฟต์ชนิดไม่มีเกียร์
ในปี พ.ศ. 2446 การออกแบบลิฟต์รูปแบบใหม่ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่แก่อุตสาหกรรมการผลิตลิฟต์ นั่นคือ ลิฟต์ชนิดไม่มีเกียร์ สามารถปฏิบัติงานได้ ณ ความเร็วมากกว่า 500 ฟุตต่อนาที (2.54 เมตรต่อวินาที) สำหรับลิฟต์ชนิดไม่มีเกียร์ ปลายด้านหนึ่งของเชือกลวดแขวนทั้งหมดจะยึดติดกับส่วนบนสุดของตัวลิฟต์ และคล้องผ่านร่องของรอกขับชนิดพิเศษ โดยที่ปลายอีกด้านของเชือกลวดแขวนดังกล่าวจะยึดติดกับน้ำหนักถ่วง ที่วิ่งขึ้นลงตามแนวรางในปล่องลิฟต์ โดยเชือกลวดแขวนทั้งหมดจะถูกแรงดึงที่เกิดขึ้นจากน้ำหนักรวมของตัวลิฟต์และ น้ำหนักถ่วงให้อยู่ในร่องของรอกขับ ซึ่งจะทำให้มีแรงฉุดในขณะที่รอกขับลิฟต์มีการหมุนเกิดขึ้น ด้วยเทคโนโลยีนี้ของลิฟต์ชนิดไม่มีเกียร์ได้ทำให้มีตึกสูงระฟ้าเกิดขึ้นเป็น จำนวนมาก เช่น ตึกปิโตรนาส ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
ลิฟต์ชนิดมีเกียร์
ลิฟต์ชนิดมีเกียร์นี้ มอเตอร์ไฟฟ้าได้ถูกออกแบบมาเพื่อขับชุดเกียร์ลดความเร็วรอบที่ใช้ในการหมุน รอกขับลิฟต์ ชุดเกียร์ลดความเร็วรอบจะช่วยให้มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถลดกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการ หมุนรอกขับลิฟต์ โดยทั่วไปลิฟต์ชนิดเกียร์จะมีความเร็วระหว่าง 350-500 ฟุตต่อนาที (1.7-2.5 เมตรต่อวินาที) และมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 30,000 ปอนด์ (13,600 กิโลกรัม) ส่วนชุดเบรกซึ่งอยู่ระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้าและชุดเกียร์ลดความเร็วรอบจะถูกควบ คุมด้วยไฟฟ้า เพื่อทำให้ลิฟต์สามารถหยุดในระดับชั้นที่ต้องการ

 

   


 




 
Online:  1
Visits:  24,306
Today:  9
PageView/Month:  494